นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla)

นิโคลา เทสลา

"ข้าพเจ้าได้จัดการรังสีคอสมิก และนำมาใช้ควบคุม
อุปกรณ์ที่เคลื่อนไหว" - นิโคลา เทสลา; บรุกลิน อีเกิล,
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2474
เกิด         10 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 โครเอเชีย (จักรวรรดิออสเตรีย)
ถึงแก่กรรม           7 มกราคม พ.ศ. 2486 (86 ปี) สหรัฐอเมริกา
สัญชาติ  ออสเตรีย-ฮังการี (พ.ศ. 2399-2434;
จักรวรรดิออสเตรียเปลี่ยนเป็นจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในปี พ.ศ. 2410)
อเมริกัน (พ.ศ. 2434-2486)
ชาติพันธุ์               โครแอต (ออสเตรีย-ฮังการี)
อาชีพ     นักวิทยาศาสตร์
ผลงานเด่น            ขดลวดเทสลา
Tesla turbine
Teleforce
Tesla's oscillator
Tesla electric car
หลักการของเทสลา
Tesla's Egg of Columbus
Alternating current
มอเตอร์เหนี่ยวนำ
สนามแม่เหล็กแบบหมุน
เทคโนโลยีไร้สาย
อาวุธลำแสงอนุภาค
Death ray
Terrestrial stationary waves
Bifilar coil
Telegeodynamics
Electrogravitics
นิโคลา เทสลา (เซอร์เบียНикола Тесла, Nikola Tesla) เกิดเมื่อ 10 กรกฎาคมพ.ศ. 2399 - ถึงแก่กรรม 7 มกราคม พ.ศ. 2486 (86 ปี) เป็น นักประดิษฐ์, นักฟิสิกส์, วิศวกรเครื่องกล, วิศวกรไฟฟ้า และ นักทำนายอนาคต เขาเกิดที่ Smiljan ในอดีตออสเตรีย - ฮังการี ซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐโครเอเชีย ภายหลังเขาได้รับสัญชาติเป็นพลเมืองอเมริกัน
เทสลามีปัญหาทางประสาทในวัยเด็ก ที่เขาต้องทุกข์ทรมาน จาก โรคย้ำคิดย้ำทำ เขาได้งานแรกในบูดาเปสต์โดยทำงานที่บริษัทโทรศัพท์ เทสล่าได้ประดิษฐ์ลำโพงสำหรับโทรศัพท์ระหว่างที่ทำงานอยู่ที่นี่ ก่อนที่จะเดินทางเร่ร่อนไปอเมริกาในปี 2427 เพื่อที่จะไปทำงานกับ โทมัส เอดิสัน แต่ในไม่นาน เขาก็เริ่มก่อตั้ง ห้องปฏิบัติการ/บริษัท พัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้า ของตัวเองโดยมีผู้สนับสนุนด้านการเงินให้ สิทธิบัตรมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบเหนี่ยวนำ และ หม้อแปลงไฟฟ้า ได้รับการจดทะเบียนโดย จอร์จ เวสติงเฮ้าส์ ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างให้เทสลาเป็นที่ปรึกษาและพัฒนาระบบไฟฟ้ากระแสสลับด้วย
ผลงานของเทสลาที่ทำให้เขาเป็นสนใจในสมัยนั้นอาทิเช่น การทดลองเกี่ยวกับ คลื่นความถี่สูงและแรงดันไฟฟ้าแรงสูง ใน นิวยอร์ก และ โคโลราโด สปริงซ์, สิทธิบัตรของอุปกรณ์และทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างวิทยุสื่อสาร, การทดลอง X-ray ของเขา, เขายังเป็นผู้คิดค้นตัวกำเนิดสัญญาน (oscillator) หลากหลายรูปแบบอีกด้วย และ โครงการWardenclyffe Tower ซึ่งเป็นความพยายามในการส่งสัญญานไร้สายข้ามทวีปแต่โชคร้ายที่โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จ
แม้เทสลาจะเป็นผู้คิดค้นสัญญานวิทยุ การค้นพบหลักการสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักกันดีคือ การค้นคว้าพัฒนาไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งในขณะนั้นมีการแข่งขันกับไฟฟ้ากระแสตรงที่ถูกพัฒนาขึ้นมา โทมัส เอดิสัน แต่ในที่สุดไฟฟ้ากระแสสลับก็ได้รับความนิยมมากกว่า เพราะเกิดการสูญเสียน้อยกว่าในการส่งกระแสไฟฟ้าในระยะทางไกล
เทสลาประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักและทำให้ผู้คนเห็นถึงความสามารถของจากโชว์สิ่งประดิษฐ์ที่ดูน่าอัศจรรย์ทั้งหลาย ถึงแม้ว่าเขาจะได้เงินจากสิทธิบัตรต่าง ๆ แต่เขาก็ได้ทำการทดลองอย่างมากมายด้วยเช่นกัน ทำให้ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขาต้องเป็นหนี้ และ มีปัญหาด้านการเงิน ต้องอาศัยอยู่อย่างโดษเดี่ยวในห้องพักหมายเลข 3327 ที่โรงแรม New Yorker ด้วยลักษณะและธรรมชาติในการทำงานของเทสลาทำให้เขาถูกขนานนามว่าเป็น "นักวิทยาศาสตร์เพี้ยน"
เทสลาถูกพบว่าเสียชีวิตในห้องพักหมายเลข 3327 ที่โรงแรม New Yorker เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2486
หลังจากการตายของเขางานของเทสล่าก็ได้เงียบหายไป แต่ในปี 2533 เขาก็เริ่มกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง ในปี 2548 เขาถูกเสนอชื่อให้เป็นตัวแทน 1 ใน 100 คนในรายการโทรทัศน์ "The Greatest American" โดยการสำรวจนิยมโดย AOL กับ ช่อง Discovery
การทำงานและสิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงของเขายังเป็นจุดกำเนิดของทฤษฎีสมคบคิดจำนวนมาก และ ยังได้นำไปใช้สนับสนุนวิทยาศาสตร์เทียม, ทฤษฎียูเอฟโอ และ ไสยศาสตร์ยุคใหม่ อีกด้วย
ในปี 2503 หน่วยสำหรับวัดความ ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก หรือ การเหนี่ยวนำด้วยพลังแม่เหล็ก (ที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นสนามแม่เหล็ก B \), ถูกตั้งชื่อว่า เทสลา เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
นอกจากนี้ เทสลายังถือเป็นวิศวกรที่สร้างนวัตกรรมล้ำยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สิทธิบัตรของเทสลาและผลงานเชิงทฤษฎีของเขากลายเป็นพื้นฐานของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ได้แก่ ระบบจ่ายกำลังหลายเฟส และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งเขามีส่วนผลักดันเป็นอย่างมากในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง
ชีวิตส่วนตัว
เทสลาถึงแม้จะเป็นคนที่สุภาพและมีผู้หญิงหลายคนพยายามแข่งขันกันเพื่อเอาชนะใจเขา แต่เทสลากลับไม่เคยแต่งงานหรือพบว่ามีความสัมพันธ์ใดๆ โดยเทสลากล่าวว่าการถือพรหมจรรย์ของเขานั้นช่วยได้มากในเรื่องทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปั้นปลายชีวิตเขากล่าวว่า "บางทีการที่เขาเลือกที่จะไม่แต่งงานอาจเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่เกินไปสำหรับงาน(ทางวิทยาศาสตร์)ของเขา"
เทสล่าค่อนข้างเป็นคนสันโดษและปลีกตัวจากสังคมเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องเข้าสังคม ผู้คนรอบข้างต่างพูดถึงในเชิงบวกและชมเชยเขา Robert Underwood Johnson บรรยายถึงลักษณะเฉพาะตัวของเทสล่าว่า "เป็นคนอ่อนหวาน, จริงใจ, ถ่อมตัว, เรียบร้อย, มีความกรุณา, และน่าเชื่อถือ" Dorothy Skerrit เลขาส่วนตัวของเทสลากล่าวว่า "ความมีไมตรีและบุคลิกส่วนตัวที่ดูสูงส่งและสง่าผ่าเผยแสดงถึงความเป็นสุภาพบุรุษที่ฝังลึกอยู่ในจิตวิญญาณของเขา" Julian Hawthorne เพื่อนของเทสลากล่าวว่า "หายากมากที่คุณจะพบนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรที่เป็นทั้งกวี, นักปรัชญา, ผู้ที่ชื่นชอบดนตรีดีๆ, นักภาษาศาสตร์, และผู้ที่เชี่ยวชาญทั้งเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม"
เสียชีวิต
วันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1943 ร่างของนิโคลา เทสลาถูกพบเสียชีวิตที่ห้อง 3327 โรงแรม New Yorker Hotel ในเมืองนิวยอร์ก โดยผู้พบศพเป็นคนแรกคือพนักงานทำความสะอาดชื่อ อลิซ โมนาร์คฮัน ที่เธอถือวิสาสะเปิดประตูห้องของเทสลาเข้าไปโดยไม่สนใจป้ายห้ามรบกวนที่เทสลาแขวนไว้ที่ประตูห้องเมื่อ 2 วันก่อน แพทย์วินิฉัยว่าเทสลาเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลว รวมอายุได้อายุได้ 86 ปี ซึ่งไม่สามารถระบุวันเวลาที่แน่นอนของการเสียชีวิตได้ แต่มีการคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างช่วงบ่ายของวันที่ 5 มกราคม ถึงช่วงเช้าของวันที่ 7 มกราคมค.ศ. 1943
หลังจากที่นิโคลาเสียชีวิตลง ผู้อำนวยการ FBI เจ. เอดการ์ ฮูเวอร์ (J. Edgar Hoover) ได้ส่งบันทึกไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ว่า เรื่องราวทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับ นิโคลา เทสลา ต้องถูกจัดการอย่างลับที่สุด และทุกฝ่ายต้องรักษาความลับของสิ่งประดิษฐ์ของเขาให้เป็นความลับตลอดไป[1][2]
ผลงานเด่น
ผู้ประดิษฐ์ขดลวดเทสลา (Tesla coil) และค้นพบวิธีการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเป็นสนามไฟฟ้า จึงเป็นที่มาของหน่วยวัดสนามแม่เหล็กเทสลา
ผู้ค้นพบวิธีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless communication)
ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟแบบใช้ก๊าซให้แสงสว่าง หรือ หลอดฟลูออเรสเซนต์
ผู้คิดทฤษฎีของเครื่องเรดาร์
เกียรติคุณและอนุสรณ์
ภาพของเทสลาบนธนบัตรต่าง ๆ
Serbian 500din Tesla 1978-a king.jpg
ธนบัตร ยูโกสลาเวีย ปี 1978

Serbia 1000din Tesla 1992-a king.jpg
ธนบัตรยูโกสลาเวีย ปี 1992

Serbia 10mlrd Tesla 1993-a king.jpg
ธนบัตรยูโกสลาเวีย ปี 1993
Serbia 5din Tesla 1994-a king.jpg
ธนบัตรยูโกสลาเวีย ปี 1994

100RSD front.jpg
ธนบัตรเซอร์เบีย ปี 2007

100 ปีให้หลัง กับศูนย์วิจัย HAARP
100 ปี ให้หลัง รังสีหายนะของเทสลากลับกลายเป็นเรื่องจริง วงการวิทยาศาสตร์เพิ่งตามเขาทัน ในเรื่อง รังสีหายนะ” (Death Ray ชื่อที่หนังสือพิมพ์ขนานนามขีปนาวุธ โทรกำลัง” Teleforce ของเขา) ในปี ค.ศ. 1993 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เริ่มก่อสร้างศูนย์วิจัยไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere คือชั้นบรรยากาศโลกที่ความสูงตั้งแต่ ๗๐-๕๐๐ กิโลเมตร) ในเมืองกาโคนา มลรัฐอะแลสกา ศูนย์นี้มีชื่อว่า HAARP (High Frequency Active Auroral Research Program) ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งในการดำเนินโครงการเพื่อศึกษาคุณสมบัติการสะท้อน (resonant properties) ของโลกและชั้นบรรยากาศโลก โครงการนี้มีความเกี่ยวโยงกับงานของเทสลาอย่างชัดเจน กล่าวคือ HAARP กำลังศึกษาปรากฏการณ์เดียวกันกับที่เทสลาค้นคว้าที่โคโลราโด
วัฒนธรรมสมัยนิยม
ในการ์ตูนซูเปอร์แมน (ค.ศ. 1941) ได้พาดพิง นิโคลา เทศลา และสิ่งประดิษฐ์ของเขามาแต่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ชื่อเทสลา ที่พยายามทำลายล้างโลกด้วยเครื่องยิงลำแสงมหาประลัย หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Death Ray[3]

อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
Tesla's Wardenclyffe Science Center Plaque [2]
NikolaTesla.fr - More than 1,000 documents on Tesla


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น